รหัสเทียม (PSEUDO CODE)

รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo code) เป็นคำสั่งที่จำลองความคิดที่เป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษ ซึ่งรหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด นี้ ไม่ใช่ภาษาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรมโปรแกรมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลได้
แต่เป็นการเขียนจำลองคำสั่งจริงๆแบบย่อๆ ตามอัลกอริทึมของโปรแกรมระบบ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นการเีขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ได้
สรุปได้ว่า รหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด (Pseudo code) หมายถึง การเขียนโปรแกรมในรูปแบบภาษาอังกฤษที่มีขั้นตอนและรูปแบบแน่นอน มีความกะทัดรัด และมองดูคล้ายภาษาระดับสูงที่ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่เจาะจงให้เป็นภาษาใดภาษาหนึ่ง รหัสเทียมจึงเหมาะที่จะใช้ในการออกแบบโปรแกรมก่อนที่โปรแกรมเมอร์จะทำการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์จริง

ประโยชน์ของรหัสเทียม

  1. เป็นเครื่องมือในการกำหนดโครงร่างกระบวนการทำงานของการเขียนโปรแกรมแต่ละโปรแกรม
  2. เป็นต้นแบบในการทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาโปรแกรมของโปรแกรมเมอร์ และนักวิเคราะห์ระบบ
  3. เป็นตัวกำหนดงานเขียนโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมเมอร์นำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามกระบวนการที่ได้จำลองกระบวนการจริงไว้ในรหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด

วิธีเขียนรหัสเทียม

  1. ประโยคคำสั่ง (Statement) จะอยู่ในรูปแบบของภาษาอังกฤษอย่างง่าย
  2. ในหนึ่งบรรทัด ให้เขียนประโยคคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวเท่านั้น
  3. ควรใช้ย่อหน้าเพื่อแยกแยะคำเฉพาะ (Keywords) ได้ชัดเจน รวมถึงโครงสร้างการควบคุมให้เป็นสัดส่วน ซึ่งช่วยให้อ่านโค้ดได้ง่าย
  4. แต่ละประโยคคำสั่งให้เขียนลำดับจากบนลงล่าง โดยมีทางเข้าของข้อมูลเพียงทางเดียว และมีทางออกของข้อมูลทางเดียวเท่านั้น
  5. กลุ่มของประโยคคำสั่งจ่างๆ อาจจัดรวมกลุ่มเข้าด้วยกันในรูปแบบของมอดูล แต่ต้องมีการกำหนดชื่อของมอดูลด้วย เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานมอดูลนั้นได้

ตัวอย่างการเขียนรหัสเทียม หรือ ซูโดโค้ด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก (VERY HIGH-LEVEL LANGUAGE)

ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี (ASSEMBLY LANGUAGE)

โปรแกรมคอมพิวเตอร์คือ ?