ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 3 ภาษาระดับสูง (HIGH-LEVEL LANGUAGE)

ภาษาระดับสูง (High-level Language) เป็นภาษารุ่นที่ 3 (3rd Generation Language  หรือ 3GLs) เป็นภาษาที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถเขียนและอ่านโปรแกรมได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีลักษณะเหมือนภาษาอังกฤษและที่สำคัญ คือ ผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด
ตัวอย่างของภาษาประเภทนี้ได้แก่ ภาษาฟอร์แทน (Fortran) โคบลอ (Cobol) เบสิก (Basic) ปาสคาล (Pascal) ภาษาซี (C) เป็นต้น โปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาประเภทนี้จะทำงานได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงให้เป้นภาษาเครื่องก่อน ซึ่งวิธีการแปลงจากภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องทำได้โดยใช้โปรแกรมที่เรียกว่าคอมไพเลอร์ (Compiler) หรือ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในการแปลภาษาโดยภาษาระดับสูงแต่ละภาษาหนึ่งได้ เช่น ภาษาโคบอลจะมีตัวแปลภาษาที่เรียกว่า โคบอลคอมไพเลอร์ไม่สามารถนำคอมไพเลอร์ของภาษาโคบอลนี้ไปใช้แปลภาษาปาสกาลได้ เป็นต้น
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาขั้นสูงนั้นนอกจากจะให้ความสะดวกแก่ผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนยังไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานขงอระบบฮาร์ดแวร์มากนัก ก็สามารถเขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
นอดจากนี้ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ สามารถนำโปรแกรมที่เขียนนี้ไปใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใดๆ ได้ไม่จำกัดเครื่องคอมพิวเตอร์ (Hardware Independent) แต่ต้องทำการแปลโปรแกรมใหม่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ภาษาเครื่องที่ได้จากการแปลภาษาระดับสูงนี้ ประสิทธิภาพของการทำงานยังไม่เท่ากับการเขียนด้วยภาษาเครื่องหรือแอสเซมบลีโดยตรง
ภาษาชั้นสูงจัดเป็นภาษามีแบบแผน (Procedural Language) เนื่องจากมีลักษณะการเขียนโปรแกรม จะมีโครงสร้างแบบแผนที่เป็นระเบียบ คือ งานทุกอย่างผู้เขียนโปรแกรม ต้องเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานเองทั้งหมด และต้องเขียนคำสั่งการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบบฟอร์มกรอกข้อมูล การประมวลผลหรือการสร้างรายงาน ซึ่งโปรแกรมที่เขียนจะซับซ้อน และใช้เวลาในการพัฒนานาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 4 ภาษาระดับสูงมาก (VERY HIGH-LEVEL LANGUAGE)

ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 1 ภาษาเครื่อง (MACHINE LANGUAGE)

ระดับของภาษาคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2 ภาษาแอสเซมบลี (ASSEMBLY LANGUAGE)